วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การติดตั้ง Wordpress บน Appserv

WordPress คือ  ชุดโปรแกรมที่สร้างจากภาษา PHP ในรูปแบบ CMS ก็คือ ระบบที่จัดการเนื้อหาออนไลน์ได้เลยโดยไม่ต้องเขียนเว็บโดยตรง เพื่อง่ายต่อการใช้งานและยังย่นระยะเวลาได้มากขึ้นถึงก็ไม่มีใครเคยบอกไว้ แต่ผมขอตั้งเองแล้วกันจากประสบการณ์โดยตรง 1/10 จากการเขียนเว็บโดยตรงเลยก็ได้และยังสามารถแก้ไขได้ง่าย โดยผู้ที่ไม่มีความรู้ก็สามารถใช้งานได้ง่ายเช่นกันเพียงแค่ไม่กี่นาทีคุณก็สามารถจะมีเว็บไซด์ส่วนตัวได้แล้ว งั้นเรามาเริ่มการติดตั้งกันเลยดีกว่า
เอาหละพระเองของเราในที่นี้ สำหรับคนที่ไม่รู้จัก เว็บไซด์ของ Wordpress ก็สามารถค้นหาได้ทันทีจากปรมจารย์ กูเกิ้ล คลิกในลิงค์ได้เลยนะครับสำหรับท่านที่เห็นก็จะเห็นเอ้า
มีทั้ง wordpress.org และ woredpress.com เข้าอันไหนหละเนี่ย
                  
wordpress.com คือ สมัครปุ๊บเขียนได้เลยหรืออาจะเสียตังสำหรับท่านที่ต้องการโดเมนเป็นของตัวเอง
wordpress.org  คือ ไว้ให้สำหรับดาวโหลดซอทโค๊ดของ Wordpress เพื่อมาติดตั้งบนเซิฟเวอร์ส่วนตัวหรือเซิฟเวอร์ของใครก็แล้วแต่นะครับ



เมื่อเข้ามาที่ wordpress.org เราก็จะเห็นลิงค์สำหรับดาวโหลด ตรงสีน้ำเงินเลยครับ



เมื่อดาวโหลดมาเราก็จะได้ไฟล์ที่ถูกบีบอัดมาแล้วให้เราทำการแตกไฟล์แล้วย้ายโฟลเด้อ wordpress ไปไว้ที่ ตาม Address สีน้ำเงินดังรูปได้เลยครับ



เมื่อเราได้ย้ายโฟลเดอเรียบร้อยแล้วให้เราทำการสร้างฐานข้อมูลที่เราต้องการจัดเก็บดังรูปได้ลเยครับพิมพ์เข้าที่โปรแกรมบราวเซอร์ว่า http://localhost/phpmyadmin
ในที่นี้ผมจะตั้งชื่อฐานข้อมูลว่า Wordpress ก็เลยแล้วกันนะครับ


เมื่อสร้างเสร็จแล้วเราก็จะสามารถเข้าโดยการพิมพ์ URL ของเราว่า http://localhost/wordpress
ระบบก็จะแจ้งว่าเรายังไม่ได้ทำการติดตั้งฐานข้อมูลนี้ให้เราเลือกตามภาพได้เลยครับ

ระบบก็จะชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับติดตั้ง Wordpress นี้คลิกเลือกตามรูป


บรรทัดที่ 1 กรอกชื่อฐานข้อมูลที่เราสร้างไว้ก่อนหน้านี้
บรรทัดที่ 2 กรอกชื่อผู้ใช้งานฐานข้อมูล ( ถ้าใน Appserv ค่าจะเป็น root )
บรรทัดที่ 3 รหัสผ่านของผู้ใช้งานฐานข้อมูล ( ตามที่ท่านตั้งไว้ตอนติดตั้งโปรแกรม Appserv )
บรรทัดที่ 4 ที่อยู่่ของฐานข้อมูล ( ในที่นี้ติดตั้งใน Appserv จะใช้เป็น localhost )
เมื่อคลิกเสร็จแล้วคลิกเลือกถัดไปได้เลย



บรรทัด 1 นี้เป็นการตั้งค่าของ Wordpress ของเรา ช่องแรกเติม ชื่อเว็บ
บรรทัด 2 ชื่อผู้ใช้งาน ในการเข้าเขียนเนื้อหาเว็บไซด์ ( เจ้าของเว็บมักจะใช้ว่า admin )
บรรทัดที่ 3 และ 4 ก็จะเป็นรหัสผ่านของเรา
บรรทัดที่ 5 เป็นอีเมล์
คลิกเลือกต่อไป


และแล้วก็เสร็จเรียบร้อยแล้วสำหรับการติดตั้ง Wordpress
ต่อมา เมื่อติดตั้งแล้ว เราสามารถจะเข้าในส่วนของผู้ดูแลได้โดย http://localhost/wordpress/wp-admin

ก็จะพบหน้าจอแบบนี้

หน้าจอส่วนของผู้ดูแล

หน้าจอสำหรับผู้ใช้งานเว็บไซด์ของเรา

เสร็จสิ้นไปแล้วสำหรับการติดตั้ง Wordpress บน Appserve ง่ายไหมหละ ถ้าเขียนเอง หน้าจอผู้เข้าเว็บ อย่างน้อย ก้ 20 นาทีโน้นแหละ ถึงจะเสร็จ เริ่มเห้นหน้าที่งานของ Wordpress กันหรือยัง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รวมการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเราด้วยการคอมเม้นความเห็น